วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เหยียบกะลา ธรรมชาติบำบัด รักษาได้ทุกโรค

เหยียบกะลา ธรรมชาติบำบัด รักษาได้ทุกโรค 
การเหยียบกะลา เป็นศาสตร์หนึ่งที่ใช้ธรรมชาติบำบัด และรักษาโรคได้หลายโรค  บางคนมองข้ามไปคิดว่าจะต้องไปนวดสปา นวดจับเส้น หรือว่าได้รับอาหารดี ๆ หรือจะเป็นอาหารเสริมต่าง ๆ สิ่งเหล่านั้นก็ถือว่าดีเหมือนกัน  แต่ในความเป็นจริงแล้วเราจะทำได้ไหมที่จะต้องไปนวดสปา ซึ่งราคาค่อนข้างแพง หรืออาจจะไม่มีเวลาไปนวดจับเส้น หรือบางคนอาจจะไม่มีเงินพอที่จะซื้ออาหารเสริมราคาแพง ๆ มาบำรุงร่างกาย  แต่การเหยียบกะลานั้น  สามารถทำได้ทุก ๆ วัน เพียงแค่ใช้เวลากับมันสักเล็กน้อย เราก็จะได้สุขภาพเ้ท้า สุขภาพกายที่ดีกลับคืนมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเงินทองเลย


การเหยียบกะลา สามารถฟื้นฟูผู้ป่วยเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้  ซึ่งมีรายงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากูก จังหวัดสุรินทร์ จากผู้ป่วยที่เคยทำแผลที่เท้า หลังจากที่ใช้ให้ผู้ป่วยเหยียบกะลา ก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ลดการทำแผลได้มาก 75 % และลดอาการชาไปเรื่อย ๆ 25 % 
กะลาที่ใช้ควรเลือกกะลาที่มีก้นแหลมพอสมควรเพื่อเท้าเราจะได้สัมผัสกับส่วนที่แหลม ทำให้ช่วยผ่อนคลายจุดต่าง ๆ บริเวณอุ้งเท้ากะลาควรเลือกสถานที่ในการวางให้เหมาะสม กะลาควรวางในที่ที่แน่น ไม่คลอนแคลน ควรวางบนพื้นดินทราย หรือเย็บติดกับพื้นพรม  ไม่ควรวางบนพื้นปูน หรือพื้นที่แข็ง เพราะจะทำให้ลื่นได้ง่ายอาจทำให้เกิดอันตรายในการเหยียบได้สำหรับการขึ้นไปเหยียบกะลานั้น ควรหาอุปกรณ์ในการยึดจับให้มั่น เพื่อจะได้ไม่เป็นอันตรายในระหว่างการเหยียบกะลา อาจจะเป็นราวไม้ หรือว่าวางกะลาไว้ใกล้ ๆ โต๊ะ  ใกล้ ๆ ผนังกำแพงบ้านไว้สำหรับจับ เพื่อป้องกันการล้มได้การเหยียบกะลา หากผู้ที่ยังยืนไม่แข็งแรง  ก็ควรใช้เก้าอี้ในการนั่งก่อน แล้วค่อย ๆ พัฒนาในการยืนต่อไป

การเหยียบกะลานั้น ก็ขึ้นไปยืนลักษณะผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ยืนแบบสบาย ๆ ค่อย ๆ ย่ำเท้าให้จุดสัมผัสบริเวณอุ้งเท้าเปลี่ยนจุดสัมผัสไปเรื่อย ๆ การเหยียบกะลานั้น ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ทำทุกวันตอนเช้าหรือตอนเย็นก็สุดแล้วแต่จะมีเวลา  แต่ที่สำคัญก็ต้องทำเป็นประจำ 2 - 5 นาทีการดูแลสุขภาพของเรานั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนมากมายอะไร เพียงแต่นำเอาวัสดุใกล้ตัว วัสดุธรรมชาติมาใช้ในการบำบัดรักษา 

การเหยียบกะลา กับโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หากเราดูแลร่างกาย ดูแลสุขภาพของเราอย่างสม่ำเสมอ โรคเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ ทุเลา หรืออาจหายไปเลยก็ได้หากเราทำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนที่เหลือจากกะลามะพร้าว ก็นำไปปลูกต้นไม้ได้ ไม่เสียประโยชน์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก